การถ่ายภาพนูดี้ (Nudi) หรือ Nudibranch คือ การถ่ายภาพทากทะเลตัวจิ๋ว ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งในหมู่นักดำน้ำและช่างภาพใต้น้ำมืออาชีพ แล้วถ้าอยากถ่ายนูดี้ให้สวย ต้องทำยังไง มีอุปกรณ์อะไรที่จำเป็นบ้าง บทความนี้ PRODIVE ขอพาคุณไปดูเทคนิคการถ่ายภาพมาโครใต้น้ำ ที่จะช่วยให้คุณสามารถจับภาพของเจ้าสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ชนิดนี้ได้อย่างสวยงาม
นูดี้ (Nudi) คืออะไร

นูดี้ (Nudi) หรือ Nudibranch คือ ทากทะเลในไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) ไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ไม่ใช่ทากทะเลทุกชนิดจะถูกนับเป็นนูดี้ เพราะลักษณะของทากทะเลที่เป็นนูดี้ ต้องมีลำตัวอ่อนนุ่มและไม่มีเปลือกหลังจากผ่านระยะตัวอ่อนมาแล้ว

ซึ่ง นูดี้ มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสัตว์ทะเลอื่น ๆ คือ ไม่มีเปลือกปกคลุมลำตัว แต่กลับมีสีสันสวยงามและฉูดฉาด โดยสีเหล่านี้ทำหน้าที่ป้องกันตัวเองจากผู้ล่า และมีการสะสมพิษตามผิวหนัง เพื่อทำให้ผู้ล่ากลัวและหลีกเลี่ยง ใช้หายใจผ่านเหงือกลักษณะคล้ายพู่ ที่อยู่บริเวณส่วนหางของลำตัว ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "Nudibranch" ที่แปลว่า "เหงือกเปลือย" และใช้เขาหรือหนวดคู่หน้าที่อยู่บริเวณส่วนหัว ในการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือ ใช้รับกลิ่นเหมือนจมูก เพื่อหาอาหารด้วย

ทั้งนี้ นูดี้ยังเป็นสัตว์ที่มีความซับซ้อนในเรื่องเพศ เพราะมีอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน กินสัตว์และพืชเป็นอาหาร เช่น ฟองน้ำ ไฮดรอยด์ ดอกไม้ทะเล และบางครั้งก็กินนูดี้ตัวอื่น ๆ
ในปัจจุบันมีการค้นพบนูดี้มากกว่า 3,000 สายพันธุ์ กระจายอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก อาศัยอยู่ตามปะการัง ตั้งแต่ความลึก 10-30 เมตร ไปจนถึงความลึกหลายพันเมตร โดยมีขนาดตัวตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรไปจนถึง 60 เซนติเมตร หากสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ก็มีขนาดราว ๆ เหรียญบาทไปจนถึงเหรียญสิบบาท
ด้วยลักษณะที่น่ารัก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละสายพันธุ์ และมีสีสันสวยงาม นูดี้ จึงเป็นสัตว์ทะเลที่ดึงดูดความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์และนักดำน้ำจากทั่วโลก
ถ่ายภาพทากทะเล นูดี้ (Nudi) ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
1. กล้องกันน้ำ
สำหรับมือใหม่แนะนำเป็นกล้องกันน้ำที่มีโหมดซูเปอร์มาโคร (Super Macro) ในตัว เนื่องจากสามารถถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็กได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริม อย่าง Wet Lenses
PRODIVE’s Tip: กล้อง OM SYSTEM TOUGH TG7 ถือเป็นกล้องคอมแพคกันน้ำที่น่าสนใจ เพราะใช้งานง่าย อึด ถึก ทน ที่มาพร้อมโหมด Super Macro ซึ่งมีกำลังขยายสูงถึง 44.4x และยังเข้าใกล้กับวัตถุได้สูงสุดเพียง 1 เซนติเมตร

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
ซื้อกล้อง OM SYSTEM TOUGH TG7 กับ PRODIVE ได้ที่นี่
2. เฮ้าส์ซิ่งกันน้ำ (Housing)

เฮ้าส์ซิ่งกันน้ำเป็นอีกหนึ่งสิ่งจำเป็นสำหรับการถ่ายรูปใต้น้ำ เนื่องจากเป็นเคสชนิดพิเศษ ที่สามารถป้องกันกล้องจากความชื้นและแรงดันน้ำได้ แนะนำว่าควรเลือกใช้เฮ้าส์ซิ่งแท้จากแบรนด์เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของกล้อง และสามารถใช้งานกล้องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ซื้อเฮ้าส์ซิ่งกล้องทุกรุ่น กับ PRODIVE ได้ที่นี่
3. ไฟฉายดำน้ำ แบบ Video Light

ไฟฉายดำน้ำ แบบ Video Light เป็นไฟฉายดำน้ำที่ช่วยในการส่องสว่าง เกลี่ยกระจายแสงทั่วทั้งวงไฟ และช่วยให้ได้ภาพสีสันไม่ผิดเพี้ยนไปจากสีจริง โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
- Spot Light: ไฟที่มีลำแสงแคบ (6-15 องศา) เหมาะสำหรับส่องเฉพาะจุด
- Snooze Light: ไฟที่มีองศาแสงแคบกว่า spot องศาประมาณ 5 องศา แต่ลำแสงจะมีความเข้มทั้งวงเกือบเท่ากัน มากกว่าแบบ spot
โดยไฟทั้งสองแบบนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทากทะเล นูดี้ (Nudi) หรือ สัตว์ทะเลขนาดเล็ก
ซื้อไฟฉายดำน้ำ กับ PRODIVE ได้ที่นี่
เทคนิคถ่ายทากทะเล นูดี้ยังไงให้สวย จาก PRODIVE

- เลือกใช้กล้องที่มีคุณสมบัติในการถ่ายภาพทั้งระยะใกล้และไกลได้ดี
- เลือกใช้ไฟฉายดำน้ำ แบบ Video Light เพื่อช่วยเติมแสงและเกลี่ยแสงให้กับภาพ
- ฝึกการควบคุมการลอยตัวและทรงตัวขณะดำน้ำเพิ่มเติม เพื่อความสะดวกในการถ่ายรูปใต้น้ำ
- หาข้อมูลเกี่ยวกับนูดี้เพิ่มเติมก่อนการดำน้ำ หรือ สอบถาม Dive Lead เช่น ปะการังชนิดไหนจะได้เจอนูดี้สายพันธุ์ไหนบ้าง หรือ Dive Site นี้มักจะเจอกับนูดี้ชนิดไหนบ้าง

- เมื่อเจอนูดี้แล้ว ให้สังเกตพฤติกรรมของนูดี้ว่า นูดี้เคลื่อนตัวไปทางไหน เนื่องจากทางที่นูดี้เคลื่อนตัวไปจะถือเป็นส่วนหัวของนูดี้ และอาจสังเกตได้จากเขาหรือหนวดคู่หน้าของนูดี้ นั่นเอง การสังเกตการเคลื่อนที่ของนูดี้นี้ จะช่วยให้ถ่ายภาพนูดี้ได้ดียิ่งขึ้น
สรุป
นูดี้ (Nudibranch) เป็นทากทะเลขนาดเล็กที่น่าสนใจ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยลำตัวอ่อนนุ่ม ไร้เปลือกปกคลุม และมีสีสันสวยงามสดใส โดยสีเหล่านี้ทำหน้าที่ป้องกันตัวเองจากผู้ล่า ซึ่งในปัจจุบันมีการค้นพบมากกว่า 3,000 สายพันธุ์ กระจายอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก
การถ่ายภาพนูดี้ให้สวยงามนั้นต้องอาศัยทั้งอุปกรณ์และทักษะ อย่าง กล้องกันน้ำที่มีโหมดซูเปอร์มาโคร เฮ้าส์ซิ่งกันน้ำ และไฟฉายดำน้ำ รวมถึงทักษะในการสังเกตพฤติกรรมและการควบคุมการลอยตัวขณะดำน้ำ เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม
หากมีข้อสงสัยและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายรูปใต้น้ำ สามารถปรึกษาทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก PRODIVE ได้ ที่นี่: https://www.prodiveimaging.com/pages/contact
ข้อมูลโดย: คุณนัด ธราพงษ์ จาก PRODIVE
อ้างอิง: