Welcome to our store, No.1 Underwater camera and & Diving Gadget in Thailand

New collections added! Learn more

2025 Promotion

10% OFF on your 1st 10,000 THB order

FIRSTORDER25

5 เทคนิคถ่ายรูปสวยใต้ทะเลด้วยกล้องคอมแพค OLYMPUS Tough TG-6

5 เทคนิคถ่ายรูปสวยใต้ทะเลด้วยกล้องคอมแพค OLYMPUS Tough TG-6

  เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทยอย่างเป็นทางการกันแล้วในเดือน มี.ค. กิจกรรมหนึ่งที่เป็นที่นิยมคู่กับหน้าร้อนก็คือการเที่ยวทะเล และสำหรับคนที่อยากได้ของฝากจากการเที่ยวทะเลเป็นรูปถ่ายใต้ทะเลสวยๆ วันนี้ผมมีเทคนิคในการถ่ายรูปใต้ทะเลด้วยกล้องคอมแพคตัวเล็ก OLYMPUS Tough TG-6 มาแชร์ให้นำไปลองใช้กันดูครับ
 
 
 
 
 
 
ข้อ 1.ใช้ Mode Aperture Priority (A) 
 
                    - เลือกขนาดรูรับแสงให้ได้รูปแบบชัดลึก-ชัดตื้นตามต้องการ ปรับค่ารูรับแสงได้ 3 ระดับ f/2.0, f/2.8, f/8 และเมื่อซูมระยะเลนส์ ค่า f จะเพิ่มขึ้นตามระยะโดยสุดระยะซูม 4x จะได้ค่า f/4.9, f/6.3, f/18
 
                    - ปรับใช้ WB Underwater เพื่อให้ได้สีสันสดใสสมจริงเมื่อถ่ายรูปด้วยแสงธรรมชาติจากดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านน้ำทะเลลงมา หรือหากต้องการสีที่ถูกต้องที่สุดให้เลือกใช้ Capture WB เพื่อทำการตั้งค่า WB ตามสภาพน้ำและสภาพแสงจริง
 
 
 
 
ข้อ 2.ใช้เลนส์มุมกว้างใต้น้ำเพื่อให้ถ่ายรูปได้ฉากหลังเป็นน้ำทะเลกว้างๆ
 
                    - เลนส์มุมกว้างใต้น้ำช่วยให้เราสามารถเข้าใกล้สิ่งที่ต้องการถ่ายรูปได้มากในขณะที่ยังได้ฉากหลังเป็นน้ำทะเลกว้างๆ เมื่อเข้าใกล้สิ่งที่ต้องการถ่ายรูปได้มากก็ทำให้เก็บรายละเอียดความคมชัดรวมถึงสีสันได้ครบถ้วนจึงได้รูปที่สวยงาม
 
 
 
 
 
 
 
 
ข้อ 3.ปรับ Focus mode แบบ AF Super macro เมื่อต้องการถ่ายรูปสัตว์ตัวเล็กตัวน้อย
 
                    - เมื่อเลือก AF Super macro กล้องจะปรับระยะโฟกัสให้สามารถโฟกัสวัตถุห่างจากหน้าเลนส์ได้ใกล้ถึง 1 cm และเมื่อซูมระยะเลนส์ตั้งแต่ 1.2x ไปจนถึง 4x ก็จะสามารถขยายวัตถุที่ต้องการถ่ายรูปให้ใหญ่ขึ้นได้ จึงสามารถถ่ายรูปสัตว์ตัวจิ๋วให้มีขนาดใหญ่และคมชัดสวยงาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ข้อ 4.ใช้ไฟฉายวีดีโอหรือสโตรปเพิ่มแสงใต้น้ำเพื่อให้ได้สีสันและความคมชัด
 
                    - ในสภาวะใต้น้ำแสงจะถูกดูดกลืนสีให้หายไปเรื่อยๆ เริ่มจากสีแดงที่มีความถี่น้อยที่สุด และสีอื่นๆที่มีความถี่เพิ่มขึ้นก็จะหายไปตามความลึกที่มากขึ้นจนท้ายที่สุดจะเหลือแค่สีคราม ดังนั้นการคืนสีที่ถูกดูดกลืนไปกลับมาจึงต้องนำแหล่งกำเนิดแสงลงไปส่องสิ่งที่ต้องการถ่ายรูป เพื่อให้ได้สีจริงของสิ่งนั้น
 
                    - นอกจากเรื่องสีแล้วความคมชัดของรูปก็เป็นผลสืบเนื่องจากความสว่างของแสงที่เซนเซอร์สามารถรับได้ เราสามารถใช้ไฟฉายหรือสโตรป ร่วมกับการปรับค่าชดเชยแสง โดยแสงยิ่งสว่างเมื่อเราปรับชดเชยแสงให้มีค่าลบกล้องจะยิ่งต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ จึงส่งผลให้ได้รูปที่คมชัดมากกว่าการปรับชดเชยแสงให้มีค่าบวก ดังนั้นอยากได้รูปคมชัดให้ส่องไฟหรือสโตรปและปรับชดเชยแสงเป็นค่าติดลบ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ข้อ 5.ถ่ายรูปเป็นไฟล์ RAW+JPEG เพื่อสามารถตกแต่งรูปเพิ่มเติมได้ภายหลัง
 
                    - การถ่ายรูปใต้ทะเลมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและสภาพแวดล้อมใต้น้ำมากมาย รวมถึงทักษะการดำน้ำของแต่ละคนด้วย การถ่ายรูปเป็นไฟล์ RAW+JPEG จึงช่วยให้เราสามารถตกแต่งรูปเพิ่มเติมหรือแก้ไขความผิดพลาดในการถ่ายรูปนั้นๆ จากไฟล์ RAW ด้วยโปรแกรม Olympus Workspace หรือหากเราได้รูปถ่ายที่สวยงามพอใจแล้วเราก็สามารถนำไฟล์ JPEG ไปใช้งานได้ทันที
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
                    5 เทคนิคนี้เป็นเพียงหลักการเบื้องต้นที่ใช้ถ่ายรูปใต้น้ำของผมครับ นอกจากนี้การฝึกฝนให้ชำนาญในการควบคุมกล้อง และการปรับแต่งค่าปรับทิศทางของแหล่งกำเนิดแสงซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ระยะหนึ่งก็จะมีผลทำให้สามารถถ่ายรูปได้สวยงาม
 
                    สุดท้ายสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกสิ่งคือทักษะการดำน้ำการควบคุมการลอยการจมการเคลื่อนไหวตัวเราใต้น้ำ และการควบคุมความนิ่งขณะถ่ายรูปก็มีส่วนสำคัญในการทำให้เราสามารถที่จะได้รูป หรือแค่ได้ถ่ายรูปครับ

โดย. นัด ธราพงษ์ ตลับนาค